Skip to main content

เบาหวานในเด็ก… ภัยเงียบ !
เด็กและวัยรุ่นก็เสี่ยงเป็นได้

โดย 08/01/2021ตุลาคม 21st, 2022บทความเพื่อสุขภาพ

เรื่องน่ารู้:

  • โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติจากการที่ร่างกายไม่สามารถจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติที่เหมาะสมได้
  • การปรับการใช้ชีวิตประจำวันให้มีวินัยทางด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมเบาหวานได้อย่างดี
  • การเกิดโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนได้มากกว่าโรคเบาหวานในวัยผู้ใหญ่ และโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะควบคุมได้ยากมากกว่าโรคเบาหวานในวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากสภาวะด้านอารมณ์และการตัดสินใจที่มีโอกาสสูงทำให้ขาดวินัยในการควบคุมเบาหวาน
  • การตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน เป็นอีกวิธีหนึ่งในการป้องกันโรค

ทำไม? เด็กและวัยรุ่นก็เสี่ยงเป็นเบาหวานได้

โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติจากการที่ร่างกายไม่สามารถหลั่งสารอินซูลินในปริมาณที่เพียงพอเพื่อมาจัดการกับระดับน้ำตาล หรือเกิด “ภาวะดื้ออินซูลิน” ที่สารอินซูลินที่ร่างกายหลั่งมานั้นมีประสิทธิภาพไม่ดีพอต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ที่จะส่งผลต่อไปต่อกระบวนเผาผลาญหรือกระบวนการเปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าไปให้กลายเป็นพลังงานโดยเฉพาะน้ำตาล โดยหากระดับน้ำตาลในเลือดไม่สามารถถูกควบคุมให้อยู่ในระดับปกติจะส่งผลกระทบที่สามารถทำลายหัวใจ หลอดเลือด ไต และระบบประสาท นอกจากนี้อาจทำให้สูญเสียการมองในระยะยาวได้ โรคเบาหวานมีหลายชนิดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่เด็กเล็กและวัยรุ่นสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็นกันมากขึ้น เพราะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น การกินอาหาร Fast Food หรืออาหารที่หวานจัด เป็นอาหารประเภทแป้งในสัดส่วนที่สูง มีแคลอรี่สูงต่อมื้อ การเกิดโรคอ้วน ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นต้น

สาเหตุโรคเบาหวานชนิดที่ 1:

สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย และพบได้บ่อยสำหรับโรคเบาหวานเด็กและวัยรุ่น สาเหตุเกิดจาก:

  • ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อน โดยสาเหตุยังไม่เป็นที่แน่ชัดซึ่งวงการแพทย์ได้ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไป เมื่อเกิดสภาวะนี้ร่างกายจะไม่สามารถเผาผลาญและนำน้ำตาล (Glucose) ที่อยู่ภายในกระแสเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม รวมถึงไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้อย่างเป็นปกติ จึงทำให้เกิดสภาวะน้ำตาลในร่างกายมากเกินไป

สาเหตุโรคเบาหวานชนิดที่ 2:

มีโอกาสพบได้ในวัยรุ่น สาเหตุเกิดจาก:
● ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอและเซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาล (Glucose) มาใช้ในการสร้างพลังงานได้ดีนัก
● ในวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน และมีประวัติครอบครัวที่เคยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ จึงส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
● ผู้ที่มีชาติพันธ์ุที่เป็นชาวเอเชียใต้ที่มีมีอายุ 25 ปีขึ้นไป
● จะมีความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป

โรคเบาหวานในเด็ก แตกต่างจาก โรคเบาหวานในผู้ใหญ่ อย่างไร ?

  • หากเกิดโรคเบาหวานในเด็กและวัย จะทำให้มีโอากาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้เยอะกว่าในวัยผู้ใหญ่
  • เนื่องจากวัยเด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและการแปลงเปลี่ยนทางด้านอารมณ์ และใช้ความรู้สึกมากกว่าอารมณ์ในการตัดสินใจเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจส่งผลต่อการควบคุมการรักษาหรือควบคุมอาการของโรคได้ไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่ จึงอาจจะต้องใช้บุคคลรอบข้าง เช่น ผู้ปกครอง หรือญาติ ในการดูแลร่วมด้วย

อาการที่สังเกตได้

  • ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
  • ดื่มน้ำมากกว่าปกติ หรือกระหายน้ำบ่อยครั้ง
  • มีความอยากอาหารอยู่บ่อยๆ
  • การมองเห็นพร่ามัวไม่ชัดเจนหรือเกิดภาพซ้อน, บาดแผลหายช้า 
  • ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้หวาน
  • รู้สึกเหนื่อยล้าและหงุดหงิดง่าย
  • น้ำหนักลดลงทั้งที่กินจุ
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง เป็นแผลแล้วอักเสบง่ายหายยาก ในเด็กหญิงบางรายอาจติดเชื้อในช่องคลอด

โดยจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน

ความเสี่ยงต่อภาวะโรคแทรกซ้อน

  • เบาหวานขึ้นตา ทำให้ตามองเห็นไม่ชัด และอาจร้ายแรงถึงตาบอด หากมีการติดเชื้อหรืออักเสบร่วมด้วย
  • โรคไต การเป็นโรคเบาหวานในระยะเวลานานๆ จะทำให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ส่งผลทำให้ไตเสื่อม จากรายงานข้อมูลจาการรายงานผลการลงทะเบียนรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยในปี 2556 คนไทยที่เป็นโรคไตวายมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 
  • หลอดเลือดแดงตีบตัน มีแข็งและเปราะบางกว่าปกติ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้หลอดเลือดสมองขาดเลือดหรือแตก ที่จะเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาต และการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ที่จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายมากขึ้น
  • ระบบประสาทเสื่อม มีอาการชาบ่อยๆ การรับความรู้สึกตามอวัยวะต่างๆ ลดลงจนไร้ความรู้สึก เช่น มือ เท้า ก้น เป็นต้น
  • การติดโรคโควิด-19 (Covid-19) สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่มีสุขภาพปกติ ที่จะมีผลต่อการเกิดอาการอักเสบที่รุนแรงต่อเนื้อเยื่อปอด และระบบทางเดินหายใจที่ขัดข้อง

สามารถป้องกันเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นได้หรือไม่

หากจะหาวิธีที่ป้องกันได้แบบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีการระบุได้จากวงการแพทย์สากล โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และที่มีสาเหตุมาจากทางกรรมพันธุ์ แต่มีหลักฐานการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถดูแลและป้องกันตัวเองในเบื้องต้นได้จากการปรับการใช้ชีวิตประจำวันให้มีวินัยมากขึ้น เช่น หากมีภาวะน้ำหนักเกินต้องลดน้ำหนักเพื่อลดความเสี่ยง การเลือกกินอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด มันจัด เลือกกินอาหารตามหลักโภชนาการจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น

การดูแลและรักษาโรคเบาหวานสำหรับผู้ป่วยทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะมีส่วนป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะมากับโรคเบาหวานทั้ง 2 ประเภทได้ และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

● โรคเบาหวานชนิดที่ 1

จะต้องใช้อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะต้องตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ และการคำนวณปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับประทานและดื่ม วิธีนี้จะทำให้รู้ปริมาณการใช้อินซูลินต่อปริมาณสารอาหารที่บริโภคได้อย่างเหมาะสม การสร้างสุขภาพที่ดี การออกกำลังกายเป็นประจำ และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสมตามหลักโภชนาการ สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นได้

● โรคเบาหวานชนิดที่ 2

จัดการการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสมตามหลักโภชนาการ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการรักษาน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน แต่บางรายก็ต้องใช้ยาด้วย เช่น ยาเม็ดและอินซูลิน หรือการรักษาอื่นๆ และควรทดสอบระดับกลูโคสในเลือดเหมือนผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และรักษาตามหลักเวชปฏิบัติทั่วไป (GP: General Practitioner) ที่จะเป็นแนวทางได้ว่าควรจะดูแลและรักษาอย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

สรุป

“การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา” โดยการปรับการใช้ชีวิตประจำวันให้มีวินัยทางด้านสุขภาพมากขึ้น เช่น หากมีภาวะน้ำหนักเกินสามารถการลดน้ำหนักเพื่อลดความเสี่ยง การเลือกกินอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ หลีกเลี่ยงการกิจอาหารรสหวานจัด มันจัด เลือกกินอาหารตามหลักโภชนาการ จัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองท่านใดเกิดข้อสงสัยหรือต้องการทราบถึงสุขภาพของบุตรหลานของท่านว่ามีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหรือไม่ อาจจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บยินดีให้คำแนะนำ และปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ หรือหากสนใจบริการของเราสามารถติดต่อได้ที่


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • คลังความรู้สุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข. (2562). “โรคไตจากเบาหวาน”. สืบค้นเมื่อวันที่ 05 ม.ค. 2564. จากเว็บไซต์: http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=227
  • ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเปรมฤดี ภูมิถาวร. สาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. “โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น”. สืบค้นเมื่อวันที่ 05 ม.ค. 2564. จากเว็บไซต์: https://med.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/30jan2020-1536

แสดงความคิดเห็น

Close Menu